ใครอยากรู้ Visual Effects ของ Ghost in the Shell ทำยังไงเชิญทางนี้ !!

April 8, 2017
Torsakuln

thumb_3198

      ในขณะนี้คงไม่มีหนังสาย Visual Effects ตัวไหนที่โดดเด่นได้เท่ากับ “Ghost in the Shell” อีกแล้ว แน่นอนว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังแนว sci-fi adventure ที่อ้างอิงมาจากเวอร์ชั่นมังงะของญี่ปุ่น โดยตัวหนังเวอร์ชั่นนี้กำกับโดย Rupert Sanders ผู้กำกับเรื่อง Snow White and the Huntsman ซึ่งในเรื่องยังได้ดาราชื่อดังอย่าง Scarlett Johansson มาแสดงเป็นตัวเอกสาวสวยในชุดสูทแนบเนื้อสุดไฮเทคอีกด้วย

01b212640163539811451cc1e8c45954

โดยหลังจากหนังเรื่อง The Jungle Book ได้รางวัลออสการ์ไป บริษัท VFX ลำดับต้นๆ ของโลก Moving Picture Company (MPC) ก็ได้นำเทคโนโลยีตัวนั้นมาสร้างสรรค์โลกของ Ghost in the Shell ขึ้นมา และใช้งานไปพร้อมๆ กับ miniatures รวมไปถึง animatronics จาก Weta Workshop ซึ่งจากคำพูดของ Rupert ระบุว่าเขาต้องการสร้างโลกของตัวหนังให้เป็นยุคในอนาคตช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ซึ่งเป็นโลกที่กำลังถูกครอบงำไปด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งน้เขาก็ไม่ได้อยากให้ CG จัดการทั้งหมด และนั่นคือการนำ miniatures รวมไปถึง animatronics เข้ามาใช้ร่วมในการสร้างโลกของ Ghost in the Shell ขึ้นมา

สำหรับการเปิด Shelling Sequence ของ Johansson ที่ได้นำ CG มาผสมเข้ากับ Practical animatronics ที่จัดทำโดย Weta ทำให้เขาสามารถสร้างโครงกระดูกรูปแบบดิจิทัลขึ้นมาได้อย่างละเอียด ซึ่งนั่นส่งผลให้เขาสามารถแต่งเติม หรือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ บนร่างกายได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ตามในการสร้างโลกของ Ghost in the Shel ขึ้นมา ทำให้นักพัฒนา MPC ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะทีมผู้สร้างตัวเมืองเอเชียที่เต็มไปด้วยภาพโฮโลแกรมมากมายที่มีชื่อว่า Solograms ซึ่งนั่นทำให้ทีมพัฒนา MPC ต้องผสม Solograms ถึง 372 อันเข้ากับ holograms ในลักษะต่างๆ เพื่อสร้างตัวเมืองขึ้นมาในที่สุด

และเพื่อสร้าง photoreal นี้ขึ้นมา ทีม production ได้ทำการออกแบบอุปกรณ์ตัวใหม่ซึ่งทำมาจากกล้อง 80 2k ที่สามารถแสดงผลแบบ 24fps ขึ้นมา เพื่อทำการจับภาพ footage ของตัวนักแสดงโดยเฉพาะ นอกจากนี้มันยังสามารถใช้ photogrammetry สำหรับสแกนภาพ 3D ได้มากถึง 32,000 ภาพด้วยกัน และนั่นทำให้ทีม MPC’s R&D ได้ทำการสร้างซอฟต์แวร์ และเครื่องมือขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้สำหรับจัดการกระบวนต่างๆ ได้ง่ายดายมากขึ้น ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า Ghosts Cams

แหล่งที่มา yahoo

ความคิดเห็น

No comments

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Verified by ExactMetrics